thaiall logomy background

คุณคือ ค่าเฉลี่ย 5 คนรอบตัว จริง หรือ ? โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
เลือกบทความ

51. คุณคือ ค่าเฉลี่ย 5 คนรอบตัว จริง หรือ ?

มีคำกล่าวที่เป็นอมตะว่า "You are the average of 5 people you spend the most time with" หรือ "คุณคือ ค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่คุณใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุด" ที่เป็นคำพูดอมตะของ Jim Rohn อีกทั้งยังมีนักพฤติกรรมศาสตร์อีกหลายคนออกมาสนับสนุนแนวทางนี้กว่าครึ่งศตวรรษ และ นำไปใช้จูงใจบุคลากรในองค์กรต่าง ๆ เช่น อยากเป็นนักขายที่เก่ง จงหาตัวอย่างนักขายที่ดี 5 คน เพื่อเป็นตัวอย่าง หรือ อยากเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ให้ดูตัวอย่างสุดยอดผู้นำ 5 คน เป็นต้น
แนวคิดนี้เชื่อได้ว่า คนเราโดยทั่วไปจะมีค่าเฉลี่ย (Mean) ค่ากลางอยู่ในกลุ่ม 5 คนรอบตัวที่อยู่ด้วยเป็นหลักใน 3 ประเด็นหลัก
ข้อ 1 ทัศนคติ ได้แก่ แนวคิดต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะมีการประเมินเป็น "บวก" หรือ "ลบ" กับสิ่งต่าง ๆ ไปในทางเดียวกัน เช่น คุณค่าชีวิต แนวการรับข่าวสาร แนวคิดทางการเมือง การมองโลก เป็นต้น
ข้อ 2 รายได้ ที่เป็นแนวทางสร้างอาชีพ การทำธุรกิจ ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ การหารายได้ ที่จะเป็นในระดับ หรือ ลักษณะคล้ายกัน
ข้อ 3 วิถีชีวิต และ ความชื่นชอบ ไปในทางเดียวกัน เช่น รูปแบบการเลือกทานอาหาร การใช้เวลาว่าง อาชีพเสริม งานอดิเรก การแต่งกาย แนวการฟังเพลง เป็นต้น
ดังนั้น จากแนวคิดนี้ การใช้เวลากับคน 5 คนรอบตัว จึงมีความสำคัญ หากมองแนวคิด 3 ข้อดังกล่าว น่าจะมีกระบวนการคัดสรรคนรอบตัวเหล่านั้น หรือ พยายามหาคนรอบตัวที่เป็น "คนคุณภาพ (Quality People)" จึงมีความหมายอย่างที่สุด แต่เราอาจเป็นมากกว่า หรือ ดีกว่าแค่ "ค่ากลาง" หรือ "ค่าเฉลี่ย" ได้ โดยการ
1) พิจารณาเวลาของเรา ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน จนเป็นปี เราใช้เวลากับใครมากที่สุด 5 คน (นี่คือตัวตั้งของตัวเรา)
2) ต้องมีกระบวนการประเมิน 5 คนรอบตัวนั้น โดยเฉพาะ (ข้อ 1) ที่เป็นทัศนคติ และ (ข้อ 2) ที่เป็นแนวการสร้างอาชีพ เราประเมิน และ สามารถเลือก "บุคคลตัวอย่าง (Role Model)" ที่ดีที่สุดตามแนวทางเลือกที่ดีที่สุด (Benchmarking) หรือ ทำกระทบเปรียบเทียบเลือกที่ดีที่สุด (Best Practice) ในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ดีกว่าค่าเฉลี่ยได้ (ส่วน (ข้อ 3) เป็นเรื่องวิถีชีวิต และ ความชื่นชอบ อาจเป็นลักษณะ "จริต (Sense)" ก็ควรเลือกที่พึงใจแต่อยู่ในทางที่ดีต่อตนเอง และ คนรอบข้าง)
ด้วยการทำ Benchmarking นี้ บางครั้งเราอาจจะยึดคนที่ไม่ได้มีเวลาด้วยสูงสุด 5 คน แต่ขยายวงออกรอบตัว ว่าเราเห็นเขาเป็น Best Practice ในเรื่องนั้น ๆ ได้ดีที่สุด ก็ควรพิจารณาประกอบ
3) การหาองค์ความรู้ พัฒนาต่อยอด ในโลกปัจจุบัน เรามีทางเลือกของชีวิตมากมาย รวมถึงการหาความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ มากกว่าอดีต โดยเฉพาะสื่อ Online รูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นเราอาจใช้เวลาส่วนหนึ่งของชีวิตทีเดียวที่ไม่เกี่ยวกับคนรอบตัว แต่อยู่กับโลกข้อมูลข่าวสารรอบโลกในการพัฒนาตน พัฒนาความรู้ เพื่อพัฒนาตนให้ก้าวข้ามขีดความสามารถเดิม (จากแค่พื้นฐาน ค่าเฉลี่ย 5 คนรอบตัว ( หรือ คนรอบ ๆ รองลงไป)
4) พิจารณาในการประเมินผลตนเอง ชีวิต และ พัฒนาการ ว่าแต่ละเดือน หรือ แต่ละปี เรามีชีวิตที่เป็นบวกมากขึ้นแค่ไหน หรือ อาจต้องถึงเวลาเปลี่ยนชีวิตตั้งแต่การพิจารณา 5 คนรอบตัวใหม่กันแน่
แต่ทั้งหมดนี้ จะมีการเหวี่ยงในช่วงปี ช่วงวัย ช่วงอายุ ที่ผันเปลี่ยนไป เราอาจมี มุมมองชีวิต กำลังสติปัญญา กำลังกาย แรงใจ ความพร้อมในการพัฒนาตนเปลี่ยนไป รวมถึงสังคมที่ไปอยู่เปลี่ยนไป (รวมถึงมีคนใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ในลำดับ 5 คนแรกได้ตลอดเวลา)
ท่านล่ะ พิจารณาเวลาของชีวิตได้ 5 คนไหน ( หรือ มีคนที่ดี ที่น่าจะนำมารวมเพิ่มด้วยไหม แม้มีเวลาด้วยกันน้อยก็ตาม) แล้วลองพิจารณาพัฒนาค่าเฉลี่ยของเราให้สูงกว่าได้ หรือ ไม่ หรือ มีแนวทางใดของชีวิตต่อไป
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
9 เมษายน 2565

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
 
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ แบบ APA

นัฐปกรณ์ รวีธนาธร และ สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2566). กลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบท ความเป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 198-213.

จงรักษ์ บุญยืน. (2566). แนวทางการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 124-140.

Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คลิกที่นี่ เพื่อส่งไปทดสอบบน Pagespeed insights
key.php | keyspeed.php
คุณคิดอะไรอยู่
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 537 มิลลิวินาที สูง: 2420 จุด กว้าง: 1264 จุด
Thaiall.com
Thailand Web Stat